วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ยลโฉม ดอกมะค่าโมง

ดอกมะค่าโมง 


ถึงแม้ว่าต้นมะค่าโมงจะเป็นไม้ยืนต้นที่แผ่กิ่งก้านสาขาขึ้นสู่ท้องฟ้า จนบางครั้งเราต้องแหงนมองขึ้นไปถึงจะเห็นความงามของดอกมะค่าที่ชูช่อล้อคลื่นลมอยู่สูงลิบลิ่ว หลายคนเดินทางผ่านไปผ่านมาในชีวตประจำวันยุ่งอยู่กับหน้าที่การงานและครอบครัวอาจจะไม่ทันได้สังเกตธรรมชาติ ต้นไม้ นานาพรรณ ที่อยู่รายล้อมรอบตัวเรา แต่ละช่วงฤดูกาลต้นไม้แต่ละชนิดก็ดำรงอยู่และดำเนินไปตามวิถีของเค้าเพื่อโอบอุ้มมวลสรรพชีวิตน้อยใหญ่มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม



ช่วงเวลาที่น่าตื่นใจของพรรณไม้ต่างๆน่าจะอยู่ตอนที่เค้าแทงช่อแ่ข่งกันออกดอกและติดฝักเพราะบางชนิดจะส่งกลิ่นหอมคลุ้มขจรไปไกลนับหลายร้อยเมตร เมื่อเราได้มีโอกาสหยุดพักนั่งทบทวนอะไรบางอย่างหรือหย่อนใจลงจากเรื่องราวต่างๆก็ทำให้เราได้สัมผัสกับกลิ่นอันชวนหลงใหลและอยากหาที่มาของต้นตอความหอมนั้น นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้เราแปลกตาและกลับมาสนใจกับพรรณไม้รอบกายเราทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่ทันได้สังเกตหรือให้ความสำคัญก็คงเป็นเพราะสีสันของดอกที่แข่งกันประดับประดามองไปทางทิศไหนก็พาให้ใจชื้นสดชื่นเบิกบาน

วันนี้จึงถือโอกาสนำเอารูปภาพความงามของดอกมะค่าโมง ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยเห็นหรือเคยเห็นแต่ยังไม่ทราบว่าคือต้นอะไรมาให้ดูชมกัน เพราะเจ้าของบทความก็เป็นอีกคนที่ไม่เคยยลโฉมจริงๆกับตาเลยได้แค่เก็บความทรงจำผ่านรูปภาพไปก่อน เชื่อว่าเมื่อฤดูกาลแห่งการออกดอกของต้นมะค่ามาถึงอีกครา คราวนี้จะไม่ให้พลาดที่จะขอชมแบบตัวเป็นๆ ก่อนที่เค้าจะติดฝักและเกิดเป็นเมล็ดตกสู่ใต้ต้นเกิดเป็นต้นมะค่าน้อยเมื่อหน้าฝนหน้ามาเยือน

เครดิต : ที่มาของรูป "ดอกมะค่าโมง" จากคุณกษมน

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

มะค่าโมง






ชื่อพื้นเมือง        เขง เบง บิง ปิ้น มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
สถานภาพ         ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์          ในประเทศ       ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งยกเว้นภาคใต้
          ในต่างประเทศ  อินเดีย พม่า กัมพูชา ลาว
ลักษณะทั่วไป          ต้นไม้  ไม้ยืนต้นขนาดใญ่ แต่สูงแค่ประมาณ 10-18 เมตร เพราะว่าแตกกิ่งก้านต่ำมาก ลำต้นใหญ่ได้มาก แต่สั้น ๆ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง เปลือกนอกแตกสะเก็ดเป็นหลุม ๆ สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู เปลือกในสีขาว
          ใบ  ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม 3-5 คู่ ใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบมน มักจะเว้าตื้นตรงกลาง โคนใบมนหรือตัด เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น แบบขั้นบันไดปลายไม่จดขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม.ใบอ่อนสีสนิมเหล็กสวยมากเมื่อกระทบแสงแดด
          ดอก  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉกซ้อนเหลื่อมกัน ยาว 10-12 มม. สีเขียวอ่อน กลีบดอกมีเพียงกลีบบนสุดกลียบเดียวสีแดงเรื่อ ๆ บานเต็มที่กว้าง 2-3.5 ซม.
          ผล  ผลเป็นฝักหนาแข็ง แก่แห้งสีน้ำตาล รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-18 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดสีดำเชื่อมต่อด้วยเยื่อเหนียวสีเหลือง สวยดี
          ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล               ออกดอก  ก.พ.-มี.ค. ผลแก่  มิ.ย.-ส.ค.
          การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด
          ลักษณะเนื้อไม้  สีน้ำตาลแก่ เนื้อละเอียดค่อนข้างแข็งและแน่น เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ
          ชั้นคุณภาพ  A
          ลักษณะทางกายวิภาค  ที่เห็นได้ด้วยแว่นขยายขนาด 10-15 เท่า (handlens)
          พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว (solitary pore) และ พอร์แฝด (multiple pore) การเรียงตัวเป็นแบบพอร์ลูกโซ่ (chain) การกระจายเป็นแบบกระจัดกระจาย (diffuse porous) พอร์ขนาดปานกลาง ทางภายในพอร์มีไทโลส (tylose) เป็นส่วนมาก เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ ไม่ติดพอร์ (metatracheal parenchyma)
          สกายสมบัติ  ความแน่น (กก./ม.3) 920 ความยากง่ายในการผึ่งไม้ยาก การอบไม้ ตารางที่ 4
          กลสมบัติ (strength properties)
ชั้นความแข็งแรง (strength group) A                        แห้ง (Air-Dry)   สด(Green)แรงดัดสถิต          มอดูลัสแตกร้าว (M O R)      (MPa)          120
(static bending)   มอดูลัสยืดหยุ่น (MOE)         (MPa)         9,973
แรงอัดขนานเสี้ยน (compression parallel to grain)  (MPa)           63
แรงเฉือน (shear parallel)                             (MPa)          16.3
ความแข็ง (hardness)                                  (N)            7,924
ความทนทานตามธรรมชาติ  ความทนทานสูงมาก 10.7 ปี การอาบน้ำยาไม้ ชั้นที่ 2
คุณสมบัติการใช้งาน  การเลื่อยไส เจาะ กลึง ปานกลาง การยึดเหนี่ยวตะปู ดี การขัดเงา ง่าย
การใช้ประโยชน์     ด้านเนื้อไม้แปรรูป  ไม้ใช้ในการก่อสร้าง ที่ต้องการความแข็งแรง ทำเครื่องมือเกษตรกรรม เครื่องดนตรี ปุ่มไม้มะค่ามีลวดลายสวยงาม ขายกันเป็นกิโลกรัม ราคาสูงมาก นิยมทำเครื่องเรือนกันทั่วไป
     ด้านการทำฟืนและถ่านไม้  ฟืนให้ความร้อน 4,716 แคลอรี/กรัม
     ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นรอบวงสลำต้นที่เคยพบยาว 13 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ขณะผลิใบใหม่ ๆ ให้สีสันสวยมาก แพรวพราวไปด้วยสีสนิมเหล็กที่เมื่อกระทบแสงแดดเข้าหรือเย็นสวยจับใจ ประกอบกับเป็นไม้ที่แตกกิ่งก้านกว้างขวางมาก กินพื้นที่ประมาณ 10x10 เมตร จึงต้องปลูกในที่สาธารณะ ส่วนราชการที่กว้าง ๆ โดยเฉพาะในรีสอร์ตกว้าง ๆ ที่ประสงค์จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ เมื่อปลูกโตแล้วสร้างบ้านทาร์ซานบนง่ามต้นมะค่าโมงได้อย่างเก๋ไก๋ เป็น Tree Top Resort เท่เลย กิ่งก้านใหญ่โตและแข็งแรงมาก ไม่หักหรือฉีกง่าย ๆ
     ปุ่มมะค่าโมง  เป็นส่วนของเนื้อไม้ที่ส่วนโคนต้นซึ่งเป็นโรค เหมือนเนื้องอก ดังนั้นเมื่อฝานปุ่มมะค่าโมงออกเป็นแผ่น ๆ จึงมีลวดลายเนื้อปุ่มแปลกสวยงามพิสดาร เป็นที่ต้องการของตลาดการตกแต่งไม้ประเภทเครื่องเรือนมาก ขายกันเป็นกิโลกรัม แต่ปัจจุบันนี้แทบหาต้นมะค่าโมงในป่าไม่ได้เลย เว้นแต่ในบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น ลาว เขมร พม่า หรือไกลไปถึงคาเมรูน ในทวีปแอฟริกา
     ด้านเป็นพืชอาหาร  เนื้อในเมล็ดอ่อนรับประทานได้ เมล็ดแก่มีสีดำเป็นมันส่วนหนึ่ง โดยมีขั้วผลเป็นไขสีขาวเหนียวมาก เจาะรูเป็นพวงกุญแจ เมล็ดมะค่าโมงได้เก๋ไก๋ไม่เบาทีเดียวเป็นของฝากจากคนป่ามานานแล้ว
     ด้านเป็นสีย้อมผ้า เนื้อไม้ และสวนอื่น ๆ ให้สีย้อมสีเหลืองและสีน้ำตาล คนอีสานนิยมใช้ย้อมผ้าไหม และผ้าฝ้าย เปลือกมีน้ำฝาดใช้ฟอกหนังได้ ชนิด Pyrogalld และ Catechul
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
          เปลือกต้น  ผสมกับเปลือกมะค่าแต้ว 50 : 50 ทำเป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากพังคี 50 : 50 เป็นยาสมานแผล
          เมล็ด  ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง
          ปุ่ม  แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โรคผิวหนัง ถ่ายพยาธิ รสเบื่อเมา
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้  แก้โรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวารหนัก
ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ     สารเคมี (+) - fisetinidol (1)
     ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          ไม่มีรายงานการวิจัย