วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มะค่า กับ วรรณคดีนิราศเมืองแกลง ท่านสุนทรภู่

มะค่า ต้นมะค่า มิเพียงแต่มีคุณค่าต่อเรามาช้านานทั้งให้เราอาศัยร่มเงาพักอาศัยบดบังไอแดดร้อนผ่าวในยามเดินทางหรือออกไปทำงาน หรือทำนาตามท้ายไร่ปลายทุ่ง หากได้นั่งพักผ่อนเอาแรงรับประทานอาหารในยามเที่ยงเอนหลังไปจนถึงบ่ายแก่ก็พอจะได้หายใจหายคอมีแรงกำลังที่จะออกมาทำโน่นทำนี่ต่อจากงานที่ทำค้างไว้ในยามเช้า

เมื่อพอมีเวลาทางเจ้าของบทความก็ได้มีโอกาสลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเผื่อว่าจะได้พบกับเรื่องราวเกี่ยวกับ มะค่า ต้นมะค่า อื่นๆที่น่าสนใจ วันนี้จึงได้กลับมาอัพเดทบล๊อกอีกครั้งหนึ่งเลยถือโอกาสหยิบยกเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องราวของต้นมะค่าในงานเขียนคราวนี้ขอย้อนกลับไปถึงสมัยเมื่อหลายร้อยปีก่อนต้นกรุงรัตนโกสินทร์กันเลยทีเดียวเป็นผลงานที่ฝากเอาไว้ให้กับลูกหลานชาวสยามอย่างเราๆของท่านสุนทรภู่ ผลงานชิ้นนี้คือ นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองแกลง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกของเขาที่ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2349 มีใจความกล่าวถึงการเดินทางโดยเรือเพื่อไปยังเมืองแกลง โดยมีศิษย์ 2 คนร่วมโดยสารไปด้วยกัน คือ น้อยกับพุ่ม และมีผู้นำทางชื่อนายแสง เป้าหมายการเดินทางของสุนทรภู่ไม่ปรากฏแน่ชัด บ้างว่าเขาต้องการไปบวชกับบิดา บ้างว่าเขาเดินทางไปขอเงินเพื่อกลับมาแต่งงาน นักวิชาการยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าสุนทรภู่กลับไปทำไม แต่ทางจังหวัดระยองได้นำเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นไปสร้างเป็นอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เมืองแกลง


จริงๆแล้วนิราศเมืองแกลงมีความยาวอยู่พอสมควรหากท่านใดสนใจก็สามารถลองเสิร์ชหาก็จะพบเพื่ออ่านได้โดยง่าย แต่วันนี้จะขอหยิบยกเอาบางช่วงบางตอนเอามาไว้พอเป็นน้ำจิ้มสักเล็กน้อยโดยเฉพาะตอนที่ทางสุนทรภู่ได้พรรณนาถึงพรรณไม้ชนิดต่างหลากหลายโดยหนึ่งในนั้นก็กล่าวถึงต้นมะค่าเอาไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งไม้มะค่าเป็นต้นไม้ที่ปรากฏในนิราศเมืองแกลง ซึ่งเป็นผลงานของท่านสุนทรภู่ ซึ่งท่านได้ประพันธ์เกี่ยวกับต้นมะค่า มีความว่า

                   เห็นพฤกษาไม้มะค่ามะขามข่อย ทั้งไทรย้อยยอดโยนโดนตะโขง
        เหมือนไม้ดัดจัดวางข้างพระโรง เป็นพุ่มโพรงสาขาน่าเสียดาย  

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องราวต้นมะค่า ที่บ้านหนองมะค่า

มะค่า มะค่าโมง เมล็ดมะค่าโมง เพาะเมล็ดมะค่า


บ้านหนองมะค่า เริ่มมีร่องรอยต้นมะค่า

ใครจะช่วยตอบได้ว่าที่ ไร่ทอสี ของคุณยายทอสี สวัสดิ์-ชูโต ตั้งอยู่ที่บ้านหนองมะค่า ห่างจากปัญญาประทีป ประมาณ ๒ กิโลเมตร ในพื้นที่ร่วม ๕๐๐ ไร่ ทำไมจึงมีต้นมะค่าใหญ่คนโอบไม่รอบ อยู่เพียงต้นเดียวโดดเดี่ยวเดียวดายจริงๆ ???
ถึงไม่รู้คำตอบ เราในฐานะอนุชนรุ่นหลังก็ควรขอบพระคุณบรรพบุรุษ ที่ปลูกไว้ให้ และขอบคุณผู้ที่ละเว้นไม่ได้โค่นต้นนี้  และให้โอกาสแก่เราในการใช้ต้นนี้เป็นแม่พันธุ์

คณะครูที่มาบุกเบิกพื้นที่ปัญญาประทีปทราบเพียงว่าพื้นที่แถบนี้เป็นส่วนหนึ่งของคงพญาไฟในอดีต ซึ่งเป็นป่ารกชัฏ เต็มไปด้วยโรคและสัตว์ป่า และต้นไม้นานาพรรณ และน่าจะมีต้นมะค่าอยู่ไม่น้อย จึงมีชื่อว่าหนองมะค่า แต่ตอนที่คุณยายได้ที่ดินนี้มา พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นไร่ข้าวโพดไร้ร่องรอยของความเป็นป่ารกชัฏ พวกเราจึงตั้งปณิธานว่าเราจะช่วยกันเพาะพันธุ์ต้นมะค่าจากต้นแม่ที่เหลือเพียงหนึ่งเดียว ให้มีต้นมะค่าให้มากพอที่จะสมกับชื่อของหมู่บ้าน

เราได้เริ่มเพาะพันธุ์ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙  และได้นำไปแจกจ่ายแล้วนับพันต้น โดยในระยะแรกทีมครูที่โรงเรียนทอสีได้ให้เด็กนักเรียนอนุบาลและประถมช่วยกันเพาะ และนำไปแจกในงานเทศกาลทางศาสนาที่วัดญาณเวศกวัน ในโอกาสที่ไปกราบท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)

เมื่อคุณยายทอสีมอบที่ดินที่ปัญญาประทีปให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยม เราจึงเร่งเพาะพันธุ์ต้นมะค่าจากแม่พันธุ์ต้นเดียวกันที่ไร่ทอสีเพื่อปลูกที่ปัญญาประทีปอีกด้วย ในปัจจุบันนักเรียนปัญญาประทีปช่วยกันเพาะได้อีกหลายพันต้น และปลูกที่ปัญญาประทีปหลายร้อยต้น เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในระยะที่เราได้ข่าวเกี่ยวกับการขยายถนนธนะรัชต์ขึ้นเขาใหญ่ และมีการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ชาวปัญญาประทีปก็มีโอกาสได้มอบต้นมะค่าประมาณ ๕๐ ต้นให้กับชาวบ้านที่เขาใหญ่ที่ต้องการไม้ป่าไปปลูกทดแทนต้นที่ถูกโค่น



ถึงแม้ต้นไม้ที่เรามอบให้จะมีขนาดเล็กน้อยนิด อายุยังไม่ถึง ๑ ขวบ ถ้าเป็นค้นก็เปรียบเหมือนทารกน้อย แต่ก็เป็นต้นมะค่าที่ทรงคุณค่าในหัวใจของเราชาวปัญญาประทีป เราปลื้มใจที่มีโอกาสมีส่วนช่วยปลูกป่า ช่วยลดโลกร้อน แม้จะน้อยนิด เทียบกับความรุนแรงของปัญหาในปัจจุบัน

ขอขอบคุณเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับต้นมะค่าโมง และทำให้เราได้รู้ว่าอย่างน้อยก็ยังมีพลังของคนรุ่นใหม่ๆที่เห็นคุณค่าของต้นมะค่า ที่อยู่คู่กับคนไทยเรามานานนม

อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของบทความ จาก ปัญญาประทีบ

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มะค่าแต้ (มะค่าหนาม) การรู้จักกันโดยบังเอิญ





มะค่าแต้



พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดสุรินทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.


วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE


ชื่ออื่น แต้ มะค่าหนาม มะค่าหยุม


มะค่าแต้ หรือมีชื่อเล่นว่า มะค่าหนาม ตอนแรกผู้เขียนก็เกิดความฉงนสงสัยเมื่อครั้งได้ข้อมูลมาว่านอกจากมะค่าโมง หรือมะค่าหลวง ที่เราพบเห็นกันทั่วไปแต่ปัจจุบันก็ลดจำนวนลงเหนือน้อยเต็มที่แล้วก็ยังมีสายพันธุ์ต้นมะค่าอีกชนิดหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกับมะค่าโมงนั่นก็คือ มะค่าแต้ หรือบางท่านอาจจะรู้จักในชื่อ มะค่าหนาม

ครั้นพอได้ยินชื่่อ มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม ก็สร้างความฉงนสงสัยและปนความอยากรู้อยากเห็นให้กับผู้เขียนเป็นอย่างมาก พยายามจะจินตนาการว่าเหตุใดจึงมีคำว่า หนาม มาเกี่ยวเนื่องกับต้นไม้มะค่าสายพันธุ์นี้ หรือว่าบริเวณกิ่งก้านลำต้นอาจจะมีหนามขึ้นมาเหมือนมะขามเทศหรืออย่างไรผู้เขียนก็เลยคิดเล่นเลยเถิดไปสนุกๆ

มีอยู่วันหนึ่่งซึ่งตอนนั้นผู้เขียนยังพักอาศัยอยู่กับญาติที่จังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีโอกาสขี่รถจักรยานยนต์ไปเยี่ยมชมสำรวจเส้นทางภายในตัวจังหวัดเพื่อสร้างความคุ้นเคย พอเที่ยวเล่นไปสักพักหนึ่งก็อยากจะหาที่ร่มนั่งพักจึุงเลี้ยวเข้าไปในบริเวณสถาณที่ราชการแต่จำไม่ได้แล้วว่าเป็นหน่วยงานใด หลักจากหาที่จอดรถจึงเดินทอดน่องสำรวจความร่มรื่นย์ไปรอบๆ ขณะำกำลังเดินสำรวจอย่างเพลิดเพลินนั้นก็พลันต้องชะงักเพราะพบเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ริมข้างๆบริเวณอาคารมีความสูงมากกว่าต้นไม้โดยรอบพอสมควรและลักษณะของกิ่งก้านและใบก็แปลกและแตกต่างออกไปชวนให้เหลียวมองและอยากค้นหาว่าคือพรรณไม้อะไรกันแน่

ผู้เขียนจึงใช้เวลาอยู่ใต้ต้นไม้ต้นนั้นอยู่พอสมควร ( ซึ่งมารู้ภายหลังว่าคือมะค่าแต้ หรือ มะค่าหนามของเรานั่นเอง ) ก็๋ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับต้นไม้ชนิดนี้ไปอีกมากโขเหตุเพราะก้มมองลงที่พื้นพบเมล็ดพันธุ์และฝักร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจึงหยิบเมล็ดพันธุ์ที่ตกอยู่จำนวนมากใต้ต้นมาพิจารณาดูก็ทำให้แปลกใจอีกหลายเท่าตัว เพราะมีความคล้ายคลึงลักษณะเมล็ดนั้นใกล้เคียงกับ มะค่าโมง ที่เราเคยเห็นและชอบอยู่เป็นทุนแล้วเป็นอย่างมาก เพียงแต่อาจจะมีความกลมของเมล็ดมากกว่านิดนึงรวมถึงขนาดที่ย่อส่วนลงมาเป็นครึ่งหนึ่ง หรือ หนึ่งในสาม ของเมล็ดมะค่า และจำนวนเมล็ดต่อฝักก็อาจจะน้อยกว่า และลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของต้นไม้ชนิดนี้คือมีฝักค่อนข้างกลมและผิวเปลือกภายนอกของฝักจะมีตุ่มหนามเล็กๆมากมายแต่ไม่ถึงกับแหลมคมอะไร ดูแล้วไม่เป็นอันตรายหรือจะสร้างบาดแผลให้กับคนทั่วไปได้ แต่ถ้าถอดรองเท้าและลองเหยียบไปที่ฝักอาจจะเจ็บเพราะหนามของฝักได้เช่นกัน

ก่อนจะลากลับจากต้นไม้ต้นนั้นผู้เขียนก็ขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าที่เจ้าทางที่ปกปักรักษาดูแลอยู่ ณ บริเวณนั้นว่าอยากจะขอเก็บฝักรวมถึงเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปศึกษารวมถึงทดลองเพาะเมล็ดต่อไป ระหว่างการเดินทางกลับบ้านพักก็เลยทำให้มีเรื่องน่าสนใจดีๆเกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่งในชีวิต

เหตุที่ธรรมชาติดีไซน์ ฝักของมะค่าแต้ ให้ออกมามีตุ่มหนามเล็กๆผู้เขียนคิดวิเคราะห์จากสิ่งที่ต่างรายล้อมก็ทำให้เกิดความคิดแว้บมาเสี้ยวหนึ่งว่า น่าจะเป็นเหตุผลในการสร้างโอกาสให้เกิดการกระจายเมล็ดพันธุ์อย่างเหนือชั้นของธรรมชาติโดย หากมีสัตว์น้อยใหญ่ที่มานั่งนอนอาศัยร่มเงา โดยเฉพาะสัตว์ที่เท้ามีกีบ โอกาสที่สัตว์น้อยใหญ่เค้าจะย่ำลงไปที่พื้นดินที่อาจจะชุ่มหรือเหนียวจากการโดนฝนก็จะเป็นดินเหนียวหรือโคลนนิดๆทำให้เมล็ดมะค่าแต้หรือเมล็ดติดฝักนั้นเกาะติดไปกับดินที่แทรกระหว่างกีบเท้าของสัตว์ต่างๆเมื่อสัตว์เดินไปหาหญ้ากินในบริเวณอื่นๆ เมล็ดหรือเมล็ดติดฝักมะค่าแต้ ที่มีหนามเป็นเครื่องมือเกาะติดดินได้ดียิ่งขึ้น ก็พร้อมออกเดินทางไปสู่ฝืนดินแห่งใหม่รอนแรมจากต้นแม่ไปเติบโตในที่แห่งใหม่อย่างยั่งยืนต่อไป

ทำให้อดอมยิ้มไปกับความพิเศษของธรรมชาติที่สรรสร้างสิ่งต่างๆได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจและมีเหตุผลรองรับอย่างแยบยลในตัวของเค้าเอง และเมื่อเรามาลองนั่งคิดวิเคราะห์ก็จะทำให้ทราบถึงความเป็นธรรมะที่แฝงเร้นอยู่ในสิ่งต่างๆรอบตัวเราซึ่งมีมาแต่ดั้งแต่เดิมแล้ว ซึ่งมนุษย์เรานั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเช่นกันเพราะฉะนั้นตัวเราก็มีธรรมะเร้นอยู่ในกายเนื้อเราเฉกเช่นเดียวกันนั่นเอง

เครดิตรูปภาพ โดย คุณ Nostalgia CU คุณ Rorng จาก magnoliathailand.com
มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม